วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553

วิธีสะเดาะกุญแจ

มีไฟล์VDO ประกอบพร้อมSub ไทย สอนขั้นตอนการทำ
โหลดที่นี่ครับ http://w13.easy-share.com/12516601.html

ลูกกุญแจอุปกรณ์อันสำคัญยิ่งในชีวิตประจำวัน

เกือบทุกท่านต้องพกลูกกุญแจเป็นพวง บ้างก็พวงเล็ก และบ้างก็พวงใหญ่ ลูกกุญแจมีไว้สำหรับไขเข้าบ้าน ประตูรถ ที่ทำงาน และห้องนอนส่วนตัวเป็นต้น เมื่อคุณสอดใส่ลูกกุญแจ เข้าไปในกุญแจ แล้วหมุน ประตูจะเปิดออกได้ ท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่าข้างในมีกลไกทำงานได้อย่างไร

กุญแจเป็นสิ่งที่แสดงความเชื่อมั่นสำหรับเจ้าของบ้าน เมื่อล็อคประตูแล้ว จะรู้สึกว่าทรัพย์สินที่อยู่ภายใน มีความปลอดภัยและมั่นคง จากขโมย หรือ ผู้ที่ต้องการของคนอื่นเป็นของตนเอง เราไม่ได้สนับสนุนขโมย และผู้ไม่หวังดีเหล่านี้ แต่จะเปิดเผยกลวิธี การสะเดาะกุญแจ เผื่อว่าลูกกุญแจของคุณหายจะได้เปิดด้วยตนเอง



สำหรับหลายๆคนที่มักมีปัญหาจุกจิก พ่อแม่ที่บ้านไม่สนใจ ก็จะมีคำถามประมาณนี้

หลายคนอาจจะถามว่า จะสะเดาะไปทำไม?
>ก็ประมาณว่า ตอนเช้าๆรีบหน่อย ลืมกุญแจไว้ในบ้าน ไม่อยากทำประตูบ้านพัง ก็เลือกสะเดาะกุญแจเอาดีกว่านะ

กล่าวเอาไว้ตอนนี้เลยแล้วกัน ความรู้เรื่องนี้ เป็นเหมือนดาบ2คม สำหรับคนที่อยากลองวิชา ขอแนะนำให้ลองกับกุญแจบ้านตัวเองก็แล้วกันนะ เพื่อป้องกันปัญหายุ่งยากที่อาจจะตามมา แล้วก็ขอกล่าวไว้อีกเรื่อง ถ้ามีปัญหายุ่งยากส้นตีนอะไรมา พี่บุญเท่งไม่รับรู้ด้วยนะคะ

คำถามต่อมาก็คือ แล้วจะเริ่มอย่างไร อุปกรณ์มีอะไรบ้าง หาได้จากไหน วิธีล่ะทำยังไง? ความแตกต่างของกุญแจแต่ละแบบต่างกันมากไหม?

บทเรียนแรก
มาเริ่มที่คำถามแรกกัน "จะเริ่มอย่างไร?"

คำตอบก็ง่ายๆ เพียงแค่ทำความเข้าใจว่าภายในแม่กุญแจมีลักษณะยังไงแ ละทำงานอย่างไร

ส่วนประกอบสำคัญๆของแม่กุญแจมีเพียงไม่กี่อย่าง และแม่กุญแจส่วนใหญ่มักจะใช้หลักการเดียวกันนี้ ซึ่งประกอบไปด้วย
1. หมุดสลัก
2. ลูกเลื่อน
3. สปริง
น่าแปลกใจใช่ไหม ว่าแค่3อย่างนี้ ก็สามารถป้องกันทรัพย์สินเราได้อย่างปลอดภัย? แล้ว

คำถามต่อมาก็คืออุปกรณ์มีอะไรบ้าง?
บทเรียนที่2 อุปกรณ์มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์อย่างแรก ทางเทคนิคเรียกว่า "แม่กุญแจ" ถ้าไม่มีแม่กุญแจ ก็จะไม่มีลูกกุญแจ และก็ไม่สามารถที่จะสะเดาะได้ นี่คือความจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
อุปกรณ์อย่างที่สอง ให้ความหมายง่ายๆว่า "แท่งยัน" มีลักษณะเป็นเหล็กฉากทำมุม90องศาขนาดเล็ก บาง หรือสั้นแล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้ และลักษณะของแม่กุญแจ
อุปกรณ์อย่างที่สาม ให้ความหมายง่ายๆว่า "ที่เขี่ย(ก็แล้วกัน)" เนื่องด้วยลักษณะ และจุดประสงค์ของมัน ก็ทำหน้าที่แค่เขี่ยสลักของแม่กุญแจเท่านั้น นอกจากนั้นก็ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้สะเดาะนั่นเ อง มีรูปร่างเป็นโลหะแท่งยาว เรียว ปลายงอทำมุมประมาณ45องศาเซลเซียส แล้วแต่ความถนัดของผู้ใช้เหมือนกันความยาวก็เช่นกัน

คำถามต่อมาก็คือ หาได้จากไหน?
บทเรียนที่3 หาอุปกรณ์ได้จากไหนบ้าง

แหล่งของอุปกรณ์ดังกล่าว หาได้ตามร้านขายเครื่องเขียน กิฟต์ชอป ไปจนถึงตลาดมืด
ราคาก็ขึ้นอยู่กับว่า ชอบแบบไหน ลักษณะไหน
ถ้าเป็นของที่ดัดแปลงแบบในคลิป ก็แทบไม่ลงทุนอะไรเลย (เพราะแท่งยัน ก็ไปขอน้องที่โรงเรียน เหล็กเขี่ย ก็ไปจิ๊กเข็มกลัดในบ้านมา 5555)
หรือถ้าหัวสูง อยากได้ของเฉพาะทาง ก็ต้องมีทุน + สกิลสูงๆหน่อยนะ เพราะคงหาไม่ได้ง่ายๆตามท้องตลาด

มาถึงคำถามสุดท้าย วิธีล่ะ วิธีสะเดาะต้องทำยังไง
บทเรียนที่4 วิธีสะเดาะกุญแจ

อันดับแรกเลย : เมื่อได้อุปกรณ์แล้ว ก็มาเริ่มทำความเข้าใจกันนะ ว่ากุญแจแข็งแรงขนาดไหน แท่งยัน เหล็กเขี่ยยาวขนาดไหน สมควรใช้กับงานหรือไม่ เมื่อเข้าใจแล้วก็เริ่มได้เลย
อันดับสอง : เสียบแท่งยันไประหว่างกระบอกเสียบลูกกุญแจ ด้านใดก็ได้ แล้วแต่คนถนัดแล้วพยายามดันเอาไว้ให้แรงเสียดทานดันห มุดสลักให้ติดอยู่กับกระบอก
อันดับสาม : เริ่มสอดเหล็กเขี่ยเข้าไป ถึงตอนนี้ต้องใช้ความรู้สึก สัมผัสจากปลายเหล็กเขี่ย ไปถึงหมุดสลัก เมื่อรู้ว่าหมุดสลักรูปร่างยังไง และมีกี่ตัว ให้เริ่มกดเข้าไป ตั้งแต่ตัวในสุดเมื่อกดเข้าแล้ว ความรู้สึกจะบอกว่า จากตัวแข็งๆ เมื่อกดแล้ว สลักแข็งๆจะยุบเข้าไป ประมาณนี้
อันดับสี่ : กดไล่มาเรื่อยๆจากตัวแรกจนตัวสุดท้าย เมื่อถึงตัวสุดท้ายแล้ว กุญแจยังไขออกไม่ได้ ให้กลับไปเริ่มที่สลักตัวในสุดอีกครั้ง แต่ไม่ต้องปล่อยแท่งยัน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการฝึกฝนของตัวบุคคลด้วยว่าชินกับแม่กุ ญแจรูปแบบนั้นแค่ไหน

แนวคิดของการสะเดาะกุญแจไม่ซับซ้อนนัก แต่การฝึกฝนต้องทำให้เกิดความชำนาญ ท่านจะต้องเรียนรู้แรงดันที่เหมาะสม และฟังเสียงให้ออก และแหย่ให้ถูกจังหวะหนักเบา เพราะรูกุญแจแต่ละอันไม่เหมือนกัน ขนาดก็ไม่เท่ากัน

จบแล้ว นึกอะไรออกได้ จะมาแก้แล้วกันนะ ถึงตรงนี้ ใครอ่านไม่เข้าใจ ก็ไปดูคลิปไปพลางๆแล้วกันนะ

เพิ่งทำเสร็จ แปลงไปแปลงมายุ่งเลย ลองเอาไปดูกันหน่อยนะครับ น่าจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยล่ะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

คลังบทความของบล็อก

เพลง พลทหารเกณฑ์ฝึก